พระพุทธสิหิงค์ 3 องค์ในไทย

8445
ตำนานพระพุทธสิหิงค์ หรือ สิหิงคนิทาน เป็นตำนานที่อธิบายประวัติการสร้างและการประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสำคัญองค์หนึ่งของประเทศไทย พระโพธิรังษี ปราชญ์เชียงใหม่ ได้เขียนตำนานเกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์เป็นภาษาบาลีเมื่อประมาณ พ.ศ. 1960 และบรรยายเรื่องราวมาจนถึง พ.ศ. 1954 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ต่อจากพระโพธิรังษี ฉบับปัจจุบันหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ เป็นตำนานย่อและมีข้อวิจารณ์ทางโบราณคดีเพิ่มเติมสืบมา
พระพุทธสิหิงค์ กรุงเทพฯ ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ 10 พระพุทธรูปวังหน้า เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร เข้าใจว่ามีลักษณะทางศิลปกรรมแบบสุโขทัยที่มีอิทธิพลศิลปะลังกา read more
พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร เป็นพระสกุลช่างเชียงแสน ศิลปะล้านนาอันงดงาม ขนาดหน้าตักกว้าง 31 นิ้ว สูงจากขอบฐานถึงยอดพระเมาลีบัวตูม 51 นิ้ว ตามคติล้านนา คนเกิดปีมะโรงต้องมาไหว้พระสิงห์ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

เอกสารทางประวัติศาสตร์ กล่าวว่า พญาผายู โปรดให้สร้างเจดีย์ สูง 23 วา เพื่อบรรจุอัฐิพญาคำฟู พระบิดาของพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.1888 ต่อมาในปี พ.ศ. 1890 จึงโปรดให้สร้างบริเวณนี้ขึ้นเป็นวัด และนิมนต์พระเถระอภัยจุฬาพร้อมภิกษุสงฆ์มาจำพรรษา แต่เนื่องจากหน้าวัดเป็นสถานที่ชุมนุม ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวเมือง วัดนี้จึงให้อีกชื่อว่า “วัดลีเชียง” (ลี แปลว่า ตลาด ) แต่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “กาดลี”

เมื่อครั้งที่ท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงรายไปได้พระพุทธสิหิงค์ หรือที่ชาวเชียงใหม่เรียกว่า “พระสิงห์” มาจากเมืองกำแพงเพชรและได้นำขึ้นมาถวายให้พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์เมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลง เรือขึ้นมาตามแม่น้ำปิง เรืออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาเทียบท่าฝั่งนครเชียงใหม่ ที่ท่าวังสิงห์คำ ขณะเชิญขึ้นประดิษฐานบนบุษบกปรากฎรัศมีจากองค์พระเรืองรองเป็นลำไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไกลถึง 2,000 วา ผู้ที่พบเห็นต่างเชื่อว่า นี่เป็นอภินิหารของพระพุทธสิหิงค์ ต่างพากันมากราบไหว้ด้วยความศรัทธา ต่อมาจึงได้มีการสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั่นได้ชื่อตามเหตุอัศจรรย์ในครั้งนั้นว่า “วัดฟ้าฮ่าม” ซึ่งหมายถึงฟ้าอร่ามนั่นเอง แต่เดิมนั้นพระเจ้าแสนเมืองตั้งพระทัยจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานยังวัดบุปฝาราม (วัดสวนดอก) ซึ่งตั้งอยู่นอกเวียงออกไปทางทิศตะวันตก แต่เมื่อชักลากบุษบกไปถึงวัดลีเชียงพระก็มีอันติดขัดไม่อาจลากต่อไปได้ พระเจ้าแสนเมืองมาถือเป็นศุภมิตรจึงโปรดให้สร้างมณฑปขึ้นวัดลีเชียงและประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ ณ วัดนั้น

ต่อมาชาวบ้านต่างพร้อมใจกันนิยมเรียกวัดนี้ว่า “วัดพระสิงห์” ตามนามของพระพุทธรูป กระทั่ง พ.ศ.2483 (ค.ศ.1940) จึงได้รับการสถาปนานายกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร และได้รับนามใหม่ว่าวัดพระสิงห์วรมหาวิหารมาจนถึงปัจจุบัน โดยกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญระดับชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 และประกาศกำหนดขอบเขตในกราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2522

และในเทศกาลสงกรานต์ จะมีการอัญเชิญพระสิงห์สิหิงค์ประดิษฐานบนบุษบกแห่รอบเมืองเชียงใหม่ให้ประชาชนสรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นประจำทุกปี
read more
พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นพระพุทธรูปที่มีพระรูป และสัดส่วนที่งดงามมาก พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราชเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชรแบบขนมต้ม มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาติสั้นระดับพระถัน วัสดุสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 14 นิ้ว สูง 16.8 นิ้ว สกุลช่างนครศรีธรรมราช นับเป็น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช

หอพระพุทธสิหิงค์ อันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์เมืองนครนั้น เดิมเป็นหอพระประจำวังของเจ้าพระยานคร ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัด และ ศาลจังหวัด สร้างใหม่แทนหอเดิมใน พ.ศ.2457 เป็นวิหารก่ออิฐถือปูนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แบ่งออกเป็น สองตอน มีผนังก่ออิฐกั้น ตอนน้า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และมีพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร บุด้วยทองคำ และเงิน อย่างละองค์ ส่วนด้านหลังเป็นที่เก็บอัฐิของตระกูล ณ นคร

พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัดและศาลจังหวัด แต่เดิมเป็นหอพระประจำวังของ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช อยู่ในบริเวณที่ตั้งวังเดิมของเจ้าพระยานคร (น้อย) พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวไทย

ตามประวัติเชื่อกันว่าพระพุทธรูปนี้ คือ พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ปรากฏเรื่องราวตาม “สิหิงคนิทาน” หรือตำนานของพระพุทธสิหิงค์ เนื่องจากมีความที่ระบุเรื่องราวเกี่ยว ข้องกับเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ กล่าวคือพระพุทธสิหิงค์ สร้างที่ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ. 700 พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยได้ ทรงทราบกิตติศัพท์เกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์ ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามจึงทรงขอให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราช จัดส่งราชฑูตไปลังกา ขอพระพุทธรูปองค์นี้มาบูชา ซึ่งก็ได้มาตามราชประสงค์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช จัดงาน พิธีสมโภชใหญ่โต เป็นเวลา 7 วัน การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์เข้ามายังดินแดนไทยโดยผ่านทางนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองที่มี การติดต่อสัมพันธ์อยู่กับลังกาอย่างใกล้ชิด ตามตำนานนั้นว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงยังนครศรีธรรมราชด้วย พระองค์เอง ส่วนพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ให้ช่างท้องถิ่น จำลองไว้บูชา 1 องค์ แล้วได้อัญเชิญไปไว้ ณ กรุงสุโขทัย

พระพุทธสิหิงค์เป็นที่เลื่อมใสเคารพบูชาในหมู่ชาวภาคใด้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชเป็นอย่างยิ่งว่ากันว่าผู้ทุจริตคิดมิชอบ ทั้งหลายจะไม่กล้าสาบานต่อหน้าองค์พระเลย หลังจากที่ได้อัญเลิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่ศาลากลางจังหวัดแล้วคดีความ ที่จะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมักมีการเอ่ยอ้างนามพระพุทธสิหิงค์ในการสาบานตัว ทำให้ไม่มีใคร กล้าเบิกความเท็จ

นอกจากพระพุทธสิหิงค์แล้วยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ ศิลปะสมัยอยุธยาประทับนั่งอยู่ ชาวนครเรียกว่า "พระเงิน" และด้านหลัง ของหอเป็นที่เก็บอัฐิเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในสกุล ณ นคร มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกให้ประชาชนสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์เป็นประจำทุกปี
read more

กำลังเป็นที่นิยม

จัดทริปของคุณ

ร้านอาหารใกล้เคียง