พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่
3250
รวมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่
พระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปพื้นถิ่นปูนปั้นที่มีความงามทางสุนทรียศิลป์ มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งใหญ่ด้วยพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนจากทิศต่างๆ มาสัการะบูชา เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแม่แจ่ม เชียงใหม่ แห่งนี้
read more
พระอัฎฐารส เป็นพระประธานในพระวิหารหลวงหล่อด้วยทองสำริดปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุดาราชมารดาของพญาติโลกราชโปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954 สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่น
read more
องค์แรกที่แอดฯ ขอนำเสนอ คือ
พระพุทธสิหิงค์ มีสามองค์ องค์แรกประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิราบเข้าใจว่ามีลักษณะทางศิลปกรรมแบบสุโขทัยที่มีอิทธิพลศิลปะลังกา๑ องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนาที่เรียกว่า “แบบสิงห์หนึ่ง” หรือ “แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง” อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐๒ องค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ แสดงปางและประทับนั่งเช่นเดียวกับองค์ที่ ๒ แต่พระองค์อ้วนเตี้ยมากกว่านิยมเรียกว่า “แบบขนมต้ม” จัดเป็นสกุลช่างนครศรีธรรมราช ในสมัยอยุธยากำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
ภาพที่สอง พระศรีสรรเพชญ (หลวงพ่อโต)
พระประธานในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปพระประธานในพระวิหารหลังเดิมที่ถูกรื้อถอนไปในสมัยที่ครูบาศรีวิชัย มาเป็นเจ้าอาวาสและได้สร้างวิหารหลวงขึ้นมาแทน read more
พระพุทธสิหิงค์ มีสามองค์ องค์แรกประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิราบเข้าใจว่ามีลักษณะทางศิลปกรรมแบบสุโขทัยที่มีอิทธิพลศิลปะลังกา๑ องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนาที่เรียกว่า “แบบสิงห์หนึ่ง” หรือ “แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง” อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐๒ องค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ แสดงปางและประทับนั่งเช่นเดียวกับองค์ที่ ๒ แต่พระองค์อ้วนเตี้ยมากกว่านิยมเรียกว่า “แบบขนมต้ม” จัดเป็นสกุลช่างนครศรีธรรมราช ในสมัยอยุธยากำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
ภาพที่สอง พระศรีสรรเพชญ (หลวงพ่อโต)
พระประธานในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปพระประธานในพระวิหารหลังเดิมที่ถูกรื้อถอนไปในสมัยที่ครูบาศรีวิชัย มาเป็นเจ้าอาวาสและได้สร้างวิหารหลวงขึ้นมาแทน read more
ภาพแรก
พระพุทธปฏิมาค่าคิง เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง”
ภาพที่สอง
พระเจ้าเก้าตื้อ ป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง ("ตื้อ" เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 "พระเจ้าเก้าตื้อ" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478 read more
พระพุทธปฏิมาค่าคิง เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง”
ภาพที่สอง
พระเจ้าเก้าตื้อ ป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง ("ตื้อ" เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 "พระเจ้าเก้าตื้อ" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478 read more
พระเจ้าปันเตา พระพุทธรูปศิลปะล้านนา ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหาร วิหารเดิมเป็นหอคำหรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ เป็นอาคารเครื่องไม้แบบพื้นเมือง ซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือซึ่ง มองดูวิจิตรและสง่างาม อยู่ในเขตตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง ฯ ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าได้ใช้เป็นที่ตั้งเตาหลอม ในการหล่อพระอัฏฐารสในวิหารวัดเจดีย์หลวง
read more
มีสององค์ประดิษย์ฐานคู่กันในมณฑป
พระศิลา (รูปแรก)
เป็นพระพุทธรูปปางโปรดช้างนาราคีฬี แกะสลักด้วยหินชนวนดำ(บางตำนานว่าเป็นหินแดง) ฝีมือช่างปาละของอินเดียและสลักตามคติเดิมของอินเดีย พุทธลักษณะของพระศิลาคือ ประทับยืนเยื้องพระองค์บนฐานบัวภายใต้ซุ้ม พระหัตถ์ขวาทอดลงเหนือหัวช้างซึ่งหมอบอยู่ พระหัตถ์ซ้ายยกในท่าประทานอภัยหรือแสดงธรรม พระอานนท์ยืนถือบาตรอยู่ด้านซ้าย
พระเสตังคมณี (พระแก้วขาว)
เป็นพระพุทธรูปสลักจากแก้วสีขาวใส มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว ตำนานกล่าวว่าเป็นศิลปะสกุลช่างละโว้ read more
พระศิลา (รูปแรก)
เป็นพระพุทธรูปปางโปรดช้างนาราคีฬี แกะสลักด้วยหินชนวนดำ(บางตำนานว่าเป็นหินแดง) ฝีมือช่างปาละของอินเดียและสลักตามคติเดิมของอินเดีย พุทธลักษณะของพระศิลาคือ ประทับยืนเยื้องพระองค์บนฐานบัวภายใต้ซุ้ม พระหัตถ์ขวาทอดลงเหนือหัวช้างซึ่งหมอบอยู่ พระหัตถ์ซ้ายยกในท่าประทานอภัยหรือแสดงธรรม พระอานนท์ยืนถือบาตรอยู่ด้านซ้าย
พระเสตังคมณี (พระแก้วขาว)
เป็นพระพุทธรูปสลักจากแก้วสีขาวใส มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว ตำนานกล่าวว่าเป็นศิลปะสกุลช่างละโว้ read more
พระเจ้าเจ็ดตื้อ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสัมฤทธิ์ พระประธานในอุโบสถเงินแห่งนี้ ทรงแสดงพุทธปาฏิหาริย์ลงสรงน้ำในพระข้างอุโบสถอยู่เป็นประจำ และประทานความสำเร็จและความสมปรารถนาสำหรับผู้มาอธิษฐานจิตกราบไหว้อยู่เนืองนิตย์ ท่านจึงได้สถิตในใจและเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านศรีสุพรรณและประชาชนทั่วไปตลอดมา read more
พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสัมฤทธิ์ พระประธานในอุโบสถเงินแห่งนี้ ทรงแสดงพุทธปาฏิหาริย์ลงสรงน้ำในพระข้างอุโบสถอยู่เป็นประจำ และประทานความสำเร็จและความสมปรารถนาสำหรับผู้มาอธิษฐานจิตกราบไหว้อยู่เนืองนิตย์ ท่านจึงได้สถิตในใจและเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านศรีสุพรรณและประชาชนทั่วไปตลอดมา read more
หลวงพ่อขาว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบล้านนามีพระพัตร์อิ่มเอิ่ม ในวิหารวัดอินทขีลสะดือเมือง นี้สร้างขึ้นในสมัยรัชสมัย พญามังราย เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเสาอินทขิลจนกระทั่งปี พ.ศ. 2343 พระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกับกองทัพพระเจ้าตาก ขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนาสำเร็จ และได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นโดยย้ายเสาอินทขิล มาประดิษฐานอยู่ ณ วัดเจดีย์หลวง และได้สร้างพระวิหารวัดอินทขีลสะดือเมืองขึ้นใหม่บนฐานเดิม
read more
พระพุทธนพีสีพิงค์ พระประธานองค์ใหญ่กลางแจ้ง แลเห็นได้แต่ไกล ประดิษย์ฐานบนยอดดอยคำ-เทือกเขาเล็ก ๆ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กม. ภูเขาที่ตั้งของพระธาตุดอยคำ เป็นป่าเขียวขจีมีทัศนียภาพที่สวยงาม ด้านล่างเป็นสวนราชพฤกษ์ (พืชสวนโลก)
read more
พระศรีศากยมุณีมิ่งมงคล คือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่แกะสลักมาจากไม้สักทองอายุกว่า 300 ปีเป็นพระพุทธรูปขนาดยาว 7 เมตร 19 นิ้ว สูง 1 เมตร 59 เซนติเมตร ซึ่งจะเป็นพระพุทธรูปปางไสยยาสน์ไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่
read more
10